กระบวนการตรวจสอบ และคัดกรองคนงานต่างด้าวก่อนจ้างงาน

เข้าใจกระบวนการตรวจสอบและคัดกรองคนงานต่างด้าวก่อนจ้างงาน ผ่าน 3 คำถามยอดฮิต

คนงานต่างด้าว

 

การจ้างคนงานต่างด้าวเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับหลายธุรกิจในประเทศไทย แต่สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการจ้างคนงานต่างด้าว มักจะเกิดความสงสัยและความกังวลหลายอย่าง หนึ่งในคำถามที่พบบ่อยคือ “จะรู้ได้อย่างไรว่าจะได้คนงานต่างด้าวที่ตรงใจและทำงานได้จริง?” ซึ่งความกังวลนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ และมีเหตุผลที่จะกังวล เพราะการคัดเลือกคนงานต่างด้าวจำเป็นต้องคำนึงถึงเรื่องต่าง ๆ มากมาย ทั้งทักษะการทำงาน ความสามารถในการสื่อสาร และการปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมการทำงานในประเทศไทย ด้วยเหตุนี้ การทำความเข้าใจกระบวนการคัดกรองและตรวจสอบคนงานต่างด้าวจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง การรู้ขั้นตอนต่าง ๆ ตั้งแต่การยื่นเรื่องกับทางการ การคัดเลือกแรงงาน ไปจนถึงการตรวจสอบประวัติและทักษะ จะช่วยให้นายจ้างมั่นใจได้มากขึ้นว่าจะได้แรงงานต่างด้าวที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการ และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้นในบทความนี้ เราจึงตั้งใจจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับกระบวนการต่าง ๆ ในการจัดหาและคัดกรองแรงงานต่างด้าว เพื่อให้คุณสามารถตัดสินใจได้อย่างมั่นใจมากขึ้นในการจ้างงานแรงงานต่างด้าวสำหรับธุรกิจของคุณ ผ่านการตอบปัญหา 3 ข้อยอดฮิต ที่หลายคนมักถามกันเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบและคัดกรองคนงานต่างด้าว

ตอบ 3 ข้อสงสัยชวนรู้ เกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบและคัดกรองคนงานต่างด้าว ก่อนเริ่มงานจริงที่ไทย

1. ใครเป็นคนตรวจสอบและคัดกรองคนงานต่างด้าวให้กับนายจ้างชาวไทย?
ในภาพรวมแล้ว การตรวจสอบและคัดกรองคนงานต่างด้าวสำหรับการก้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทยจะเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐไทย ภาครัฐของประเทศต้นทางคนงานต่างด้าว และนายจ้าง เพื่อให้มั่นใจว่าแรงงานที่เข้ามาทำงานมีคุณสมบัติตรงตามที่กฎหมายกำหนดและตอบสนองความต้องการของนายจ้าง ซึ่งสามารถสรุปหน้าที่ของแต่ละฝ่ายได้ง่าย ๆ ดังนี้

หน่วยงานภาครัฐ

  • กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เป็นหน่วยงานหลักในการกำกับดูแลและตรวจสอบคุณสมบัติของคนงานต่างด้าว
  • สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ตรวจสอบประวัติอาชญากรรมและการเข้าเมืองของคนงานต่างด้าว
  • กระทรวงสาธารณสุข รับผิดชอบการตรวจสุขภาพของคนงานต่างด้าว

นายจ้าง

  • นายจ้างมีส่วนร่วมในการระบุคุณสมบัติคนงานต่างด้าวที่ต้องการผ่าน Demand Letter
  • ในบางกรณี นายจ้างสามารถเดินทางไปคัดเลือกคนงานต่างด้าวด้วยตนเองที่ประเทศต้นทางได้

ประเทศต้นทางของแรงงาน

  • หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศต้นทางจะทำการคัดกรองคนงานต่างด้าวเบื้องต้นตามคุณสมบัติที่นายจ้างระบุใน Demand Letter

2. มีเกณฑ์ในการคัดเลือกคนงานต่างด้าวอย่างไรบ้าง และนายจ้างมีสิทธิ์ระบุความต้องการมากแค่ไหน?
การคัดเลือกคนงานต่างด้าวมีเกณฑ์ที่กำหนดโดยกฎหมายและกำหนดตามความต้องการเฉพาะของนายจ้าง ซึ่งโดยเกณฑ์พื้นฐานแล้ว ตามกฎหมายก็มักจะระบุคุณสมบัติไว้คร่าว ๆ ว่าต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ไม่มีโรคต้องห้าม และไม่มีประวัติอาชญากรรมร้ายแรง ในส่วนของนายจ้าง ก็สามารถระบุความต้องการของตัวเองได้อย่างอิสระ เหมือนการประกาศรับสมัครงานในประเทศทั่วไป เช่น ตำแหน่งงาน ทักษะที่จำเป็น ระดับการศึกษา และความสามารถทางภาษา อย่างไรก็ตาม การระบุความต้องการต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตที่ไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมและไม่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ทั้งนี้ นายจ้างสามารถแจ้งความต้องการผ่าน Demand Letter และในบางโอกาสก็สามารถคัดเลือกด้วยตนเองที่ประเทศต้นทางได้ด้วย สรุปได้ว่าการคัดเลือกคนงานต่างด้าวจะมีเกณฑ์ตามกฎหมายและเกณฑ์จากนายจ้าง โดยนายจ้างสามารถมีส่วนร่วมได้มากที่สุด และทุกภาคส่วนจะโฟกัสไปที่ความต้องการของนายจ้างเป็นหลักในการคัดเลือก

3. ต้องยื่นเรื่องว่าจ้างคนงานต่างด้าวโดยตรงผ่านภาครัฐอย่างเดียวเท่านั้นหรือเปล่า ถึงจะมั่นใจในเรื่องการตรวจสอบและคัดกรองแรงงานได้
คำตอบคือ ไม่จำเป็นต้องยื่นเรื่องผ่านภาครัฐด้วยตัวเองโดยตรงเพียงอย่างเดียว เพราะในปัจจุบันยังมีธุรกิจที่เรียกว่า ‘บริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าว mou’ ที่เข้ามาช่วยเป็นคนกลางระหว่างดำเนินการที่จะทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น ทั้งในแง่ของการดำเนินการ ระยะเวลา รวมไปถึงคุณสมบัติของคนงานต่างด้าวที่ตรงใจนายจ้างอย่างแน่นอน เพราะบริษัทเหล่านี้ไม่เพียงแต่ได้รับการรับรองจากกระทรวงแรงงานเท่านั้น แต่ยังมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการจัดหาแรงงานต่างด้าว พวกเขามีเครือข่ายกว้างขวางในประเทศต้นทางของแรงงาน ทำให้สามารถเข้าถึงผู้สมัครที่มีคุณสมบัติหลากหลายได้ นอกจากนี้ บริษัทนำเข้าคนงานต่างด้าวยังมีระบบการคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ อย่างการทดสอบทักษะ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการตรวจสอบประวัติอย่างละเอียด ทำให้นายจ้างมั่นใจได้ว่าจะได้แรงงานที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับความต้องการของธุรกิจ พวกเขายังสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานและข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ช่วยให้นายจ้างหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รวมไปถึงการอบรมต่าง ๆ ก่อนทำงานจริง และบริการอีกมากมายที่จะช่วยจบทุกข้อกังวลของนายจ้างได้ในรวดเดียว

เป็นอย่างไรกันบ้างกับ 3 คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบและคัดกรองแรงงานต่างด้าวก่อนจ้างงาน ที่เรารวบรวมมาตอบกันในบทความนี้ เชื่อว่าหลังจากได้อ่านคำตอบครบทั้งสามข้อ ทุกคนน่าจะเห็นได้แล้วว่าหน่วยงานไหนมีบทบาทอะไรต่อการคัดเลือกคนงานต่างด้าวเข้าประเทศไทยบ้าง รวมถึงได้ทราบแล้วว่านายจ้างสามารถกำหนดคุณสมบัติทุกอย่างได้ในกระบวนการนี้

หากท่านกำลังมองหาแรงงานต่างด้าวใหม่ ผ่านวิธีการจัดหาแรงงานต่างด้าวที่รวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก ให้ บริษัท เท็นไมล์เลเบอร์กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทนําเข้าแรงงานต่างด้าว MOU เป็นผู้ช่วยของคุณ บริการจัดหาแรงงานต่างด้าว หาคนงานต่างด้าวในระบบ MOU พร้อมบริการจัดทำเอกสาร ประกอบด้วยคำร้องการนำเข้าแรงงานต่างด้าว การยื่นขอใบอนุญาตทำงานของคนงานต่างด้าว การขอรับบัตรทำงานแทนผู้ประกอบการในทุกกรณี รวมถึงยังช่วยแก้ไขปัญหาระหว่างการจ้างงาน เช่น เรื่องของการต่ออายุเอกสารคนงานต่างด้าวตลอดอายุสัญญาจ้าง 2 ปี เรามีประสบการณ์ในการจัดส่งคนงานต่างด้าวกว่า 10 ปี ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015 เรายังมีระบบแจ้งเตือนเอกสารครบวาระ เพื่อให้นายจ้าง หรือองค์กรสะดวกที่สุดได้ ในราคาประหยัด



ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการหาคนงานต่างด้าว

โทร. 098-270-4840, 086-528-4820
Email : 10milelabourgroup@gmail.com, 10mile.customer@gmail.com